“จงอย่าพูดคุยกับคนที่นอนละเมอ” ความเชื่อสุดหลอนในสมัยโบราณของญี่ปุ่น
รวมเกม สล็อตเว็บตรงแตกง่าย ครบทุกค่ายดัง
เชื่อว่าเพื่อนๆ หลายท่านคงชอบนอนละเมอพูดเรื่องนั้นเรื่องนี้ออกมาโดยที่ตัวเองก็ไม่รู้สึกตัวใช่ไหมครับ จนบางทีก็อาจทำให้คนที่นอนอยู่ใกล้ๆ เกิดนึกสนุกพูดคุยโต้ตอบกับประโยคที่เพื่อนๆ ละเมอพูดออกมาก็เป็นได้ ซึ่งสำหรับชาวไทยแล้วการสนทนาโต้ตอบกับคนที่นอนละเมอก็คงเป็นเพียงเรื่องสนุกๆ ธรรมดา ที่สามารถทำได้ แต่สำหรับชาวญี่ปุ่นบางคนอาจจะไม่ได้คิดเช่นนั้น
เพราะมีความเชื่อที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า หากไปสนทนาโต้ตอบกับคนที่กำลังนอนละเมออยู่ล่ะก็ อาจก่อให้เกิดเรื่องเลวร้ายบางอย่างขึ้น หรืออาจถึงขั้นทำให้คนที่นอนละเมออยู่นั้นเสียชีวิตเลยก็เป็นได้
แล้วสาเหตุอันเป็นที่มาของความเชื่อเช่นว่านี้ มันคืออะไรกันล่ะ ?
สาเหตุตามความเชื่อในสมัยโบราณ
ชาวญี่ปุ่นในสมัยโบราณมีความเชื่อว่าหากคนที่กำลังหลับอยู่เกิดละเมอพูดเรื่องบางอย่างขึ้นมา นั่นหมายความว่าเขาคนนั้นกำลังสนทนากับวิญญาณที่อยู่ใกล้ตัว และหากมีใครสักคนเผลอไปสนทนาโต้ตอบกับคนที่กำลังนอนละเมออยู่ ก็จะถือเป็นการขัดจังหวะการสนทนาของวิญญาณ และจะทำให้วิญญาณนั้นพิโรธจนถึงขั้นลงมือกระชากดวงวิญญาณของคนที่นอนละเมออยู่นั้นให้หลุดออกจากร่างไปได้
นอกจากนี้ยังมีความเชื่ออื่นๆ อีก เช่น หากไปขัดจังหวะการสนทนาของวิญญาณ จะทำให้ดวงวิญญาณของคนที่นอนละเมอถูกกระชากออกจากร่าง และเข้าสู่ภาวะหลับไหลชั่วนิรันดร์ หรืออาจทำให้คนที่นอนละเมอนั้นเสียสติจนถึงขั้นกลายเป็นบ้า หรืออาจทำให้คนที่นอนละเมอมีอายุขัยสั้นลง
มุมมองของวิทยาศาสตร์
สำหรับในแง่ของวิทยาศาสตร์ ในช่วงเวลาที่เรานอนหลับพักผ่อนนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่
- ช่วงหลับลึก (Non rapid eye movement sleep หรือ Non rem sleep) เป็นช่วงที่สมองและร่างกายจะอยู่ในภาวะพักผ่อน หากถูกปลุกให้ตื่นในเวลานี้ก็จะรู้สึกงัวเงีย ไม่ค่อยได้สติ
- ช่วงหลับฝัน (Rapid eye movement sleep หรือ Rem sleep) คือช่วงที่ร่างกายเข้าสู่ภาวะพักผ่อน แต่เซลล์ต่างๆ ในสมองยังคงทำงานอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เราฝันเห็นสิ่งต่างๆ ในช่วงนี้ การนอนละเมอจะเกิดขึ้นในช่วงหลับฝัน (Rem sleep) ดังนั้น หากเราไปสนทนาโต้ตอบกับคนที่กำลังนอนละเมอ ก็อาจทำให้เขาคนนั้นสะดุ้งตื่นจากการนอน ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่ต่อเนื่องเพียงพอนั่นเอง
นอกจากนี้ ในช่วงหลับฝัน แม้ร่างกายจะอยู่ในภาวะพักผ่อน แต่สมองยังคงทำงานอยู่ ดังนั้น หากมีการสนทนาโต้ตอบกับคนที่นอนละเมอ ก็จะทำให้สมองของคนที่นอนละเมอต้องทำงานหนักขึ้น เพราะต้องประมวลผลและคิดประโยคเพื่อตอบกลับการสนทนา จนอาจเกิดเป็นความเครียดสะสม และทำให้ร่างกายไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างเพียงพอ
อย่างไรก็ดี ก็มีความเป็นไปได้ว่า ชาวญี่ปุ่นในสมัยโบราณอาจสังเกตเห็นว่าหากไปสนทนาโต้ตอบกับคนที่นอนละเมอ จะทำให้คนที่นอนละเมอนั้นมีร่างกายที่อ่อนแอลง เนื่องจากถูกขัดจังหวะการนอน ส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถพักผ่อนได้อย่างต่อเนื่องเพียงพอ จึงประดิษฐ์ความเชื่อเรื่องการสนทนากับวิญญาณ และเรื่องอื่นๆ ขึ้นมาเป็นกุศโลบายเพื่อป้องกันไม่ให้คนที่นอนละเมอถูกขัดจังหวะการนอนพักผ่อนก็เป็นได้
สรุปก็คือในแง่ของวิทยาศาสตร์เราไม่ควรจะสนทนาโต้ตอบกับคนที่นอนละเมอเพราะมันคือการขัดจังหวะการนอนหลับพักผ่อน ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเขาได้ แต่หากเพื่อนๆ หรือคนใกล้ตัวมีอาการนอนละเมอด้วยอารมณ์ที่รุนแรงและต่อเนื่องเป็นประจำ นั่นอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคภัยไข้เจ็บที่กำลังหลบซ่อนอยู่ในร่างกาย ดังนั้น จึงขอแนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรคและกำหนดแนวทางรักษาต่อไป